โรคขาดสารอาหารในเด็ก รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต

 


โรคขาดสารอาหารในเด็กเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายหรืออาจเกิดจาก ร่างกายไม่สามารถดึงสารอาหารไปใช้ตามปกติได้ มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และต่ำกว่า 6 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหาร เพื่อสร้างการเจริญเติบโต เด็กจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ผอมแห้ง หุ้มกระดูกด้วยหนัง ผิวเหี่ยวย่น เกิดโรคได้ง่าย รวมไปถึงทำให้อวัยวะบางส่วนทำงานผิดปกติด้วย

สัญญาณเตือนภาวะขาดสารอาหารในเด็ก

  • ท้อแท้ ไม่มีความสุข
  • น้ำหนักน้อย
  • การลดน้ำหนักโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เวียนหัวและอ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
  • รู้สึกกระสับกระส่าย Hyper ตลอดเวลา
  • ตาเหลือง
  • พูดช้าๆ
  • ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
  • ผิวแห้ง
  • มีปัญหาผมบาง ผมแตกง่าย ไม่แข็งแรง
  • อาการเบื่ออาหาร
  • ผิวเหี่ยวย่น
  • ตาลึก
  • แก้มตอบ

ป้องกันเด็กขาดสารอาหาร

  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน โดยเฉพาะในครอบครัวที่ยากจนและมีลูกหลายคน ไม่ควรหย่านมเร็วเกินไป
  • ให้อาหารเสริมแก่ทารกอย่างเพียงพอ
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคสำหรับเด็กเล็ก
  • หากน้ำหนักน้อยกว่าปกติ แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้กับเด็ก หากยังไม่ได้ผลให้ไปพบแพทย์

ติดตาม สาระน่ารู้ เพิ่มเติมจาก โรงเรียนบ้านเขาน้อย

ความคิดเห็น